วันพุธที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

หน่วยที่1 ระบบธุรกิล

ธุรกิล  

หมายถึง กิรกรรมต่างๆ ที่ทำให้มีการผลิตสินค้าและบริการ มีการชื้อขายแลกเปลี่ยน จำหน่าย และกระจายสินค้า และมีประโยชน์หรือกำไรจากกิจกรรมนั้น ธุรกิจมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคมปัจจุบันมาก เพราะนอกจากจะเป็นองค์กรที่ผลิตสินค้าหรือบริการที่เป็นปัจจัยพื้นฐานของการดำรงชีวิต การประกอบธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือใหญ่ สิ่งที่สำคัญคือกำไร
                สรุป ธุรกิจ เป็นกระบวนการในการชื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะได้รับผลกำไรหรือผลตอบแทนกลับคืนมา

ประเภทของธุรกิจ

1. ธุรกิจการเกษตร (Agriculture)
2. ธุรกิจอุตสาหกรรม (Manufacturing)
3. ธุรกิจการพาณิชย์ (Commercial)
4. ธุรกิจก่อสร้าง (Construction)
5. ธุรกิจการเงิน (Finance)
6. ธุรกิจให้บริการ (Service)

วัตถประสงค์ของธุรกิจ

        1. ผลกำไร (Profit) วัตถุประสงค์สำคัญของการดำเนินธุรกิจ คือผลกำไร ซึ่งเป็นผลตอบแทนของการลุงทุนจากทรัพย์สิน แรงงานและความรู้ความสามารถ ผลกำไรจึงเป็นสิ่งจูงใจให้ดำเนินกิจกรรมต่อไปหากธุรกิจไม่มีผลกำไรก็จะไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้
        2. ความอยู่รอด (Survival) เมื่อผู้ประกอบการตัดสินใจดำเนินธุรกิจแล้วย่อมต้องการให้ธุรกิจประสบความสำเสร็จ และมีกิจการมีที่ดำเนินการอย่างยาวนาน เพื่อทำหน้าที่ผลิตสินค้าและบริการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
        3. ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibilities) ผู้ประกอบการที่ดีจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับความรับผิดชอบของธุรกิจคือ มีความซื่อสัตย์กับลูกค้า สังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยการพัฒนาสังคมชีวิตความเป็นอยู่ของผู้บริโภคให้ดีขึ้นมีความยุติธรรมกับทุกคนในสังคมประพฤติปฏิบัติตนถูกต้องตามกฏหมาย ไม่ขัดต่อศีลธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคม ซึ่งในปัจจุบันจะมีธุรกิจหลายประเภทที่หันมาเอาใจใส่ในการดูแลและช่วยเหลือสังคมมากขึ้น

ประโยชน์ของธุรกิจ

      1. ทำมห้เกิดกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ซึ่งมีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด เช่น เมื่อมีบ้านและย่อมต้องการเฟอร์นิเจอร์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องอำนวยความสะดวกสบายต่างๆ ภายในบ้าน เป็นต้น
      2. ช่วยกระจายสินค้าจากผผู้ผลิตไปสู้ผู้บริโภค องค์กรธุรกิจเมื่อผลิตสินค้าแล้ว ย่อมต้องการขายหรือจำหน่ายสินค้าออกสู่ผู้บริโภค 
      3. เกิดการจัางงาน ธุรกิจจำเป็นต้องจ้างบุคคลอื่นเข้ามาทำงานในกิจการ ทำให้ประชาชนมีรายได้จากการทำงานในโรงงานอุตสากหรรมของผู้ผลิต หรือการเป็นพนักงานขายร้านค้าปลีกต่างๆ ทำให้มีรายได้เมื่อคนมีรายได้จะนำไปชื้อหาสินค้าและบริการต่างๆ
      4. ช่วยให้ประชาชนมีมาตฐานการครองชีพดีขึ้น การที่ประชาชนซึ่งอยู่ห่างไกลความเจริญมีงานทำและมีรายได้จากองค์กรธุรกิจ
      5. เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี กิจกรรมทางธุรกิจก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น  มีเครื่องมือสื่อสารที่ก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ปัจจัยในการดำเนินธุรกิจ

การดำเนินธุรกิจต้องอาศัยหลายๆ ปัจจัยประกอบกัน จึงจะเกิดกิจกรรมในการประกอบธุรกิจ จะขาดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไม่ได้ โดยทั่วไปปัจจัยพื้นฐาน ในการดำเนินธุรกิจมี 4 ประเภท ที่เรียกว่า 4M ได้แก่ 
1. คน (Man) 2. เงิน (Money) 3. วัสดุหรือวัตถุดิบ (Material) 4. วิธีปฏิบัติงาน (Method)

หน้าที่ในการประกอบธุรกิจ 

ธุรกิจทุกปนะเภทต่างมีหน้าที่ในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในด้านต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความพอใจสูงสุด เกิดอรรถประโยชน์สูงสุด สามารถบำบัคความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างสมบูรณ์หน้าที่ดังกล่าว
1. การผลิต (Production) เป็นกิจกรรมในการแปรรูปวัตถุดิบให้เป็นสินค้าหรือบริการ เพื่อตอบสนองความต้องการของผุ้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจในการบริโภค กระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการมีหลายขั้นตอนจึงจะได้สินค้าหรือบริการตามที่ผู้บริโภคต้องการ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องพิจารณา ได้แก่
                    1.1 การเลือกทำเลที่ตั้ง
                    1.2 การออกแบบสินค้า
                    1.3 การกำหนดตารางเวลาการผลิต
                    1.4 การตรวจสอบสินค้า 
         2. การจัดหาเงินทุน (Capital) เงินทุนถือว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในการประกอบธุรกิจ ผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องมีการบริหารเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ และการจัดหาเงินทุนมาให้ในการประกอบธุรกิจ ซึ่งมีแหล่งเงินทุน 2 แหล่ง ดังนี้
                    2.1 แหล่งเงินทุนภายใน
                    2.2 แหล่งเงินทุนภายนอก
          3. การจัดการทัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)
 คนถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญมากที่สุดในการประกอบธุรกิจ ในการจัดหาทรัพยากรด้านกำลังคน ผู้ประกอบธรุกิจควรพิจารณาดังนี้
   3.1 การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (human resource planning)
   3.2 การสรรหาและการคัดเลือก  (recruitment and selection process)
   3.3 การบรรจุและการประเมินผลงาน (orientation and appraisal process)
   3.4 การฝึกอบรมและการพัฒนา (training and development process)
   3.5 กรบวนการทางด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และแรงงานสัมพันธ์ (health, safety maintenance process and labor relation)
   3.6 การใช้วินัยควบคุมตลอดจนการประเมินผล (discipline control and evaluation process)
           4. การบริหารการตลาด (Marketing Management)
 เป็นกระบวนการที่ทำให้สินค้าหรือบริการถึงมือผู้บริโภค เพื่อตอบสนองความต้องากรและสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้บริโภค
เป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจ ได้แก่
  4.1 ผลิตภัณฑ์ (Product) คือ สิ่งที่ธุรกิจเสนอขายเพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภค
  4.2 ราคา (Price) มูลค่าผลิตภัณฑ์ในรูปตัวเงิน ผู้ประกอบธุรกิจต้องกำหนดราคาให้เหมาะสม
  4.3 การจัดจำหน่าย (Place) คือ กิจกรรมการเคลื่อนย้ายผลิตภัณฑ์จากธุรกิจไปยังตลาดเป้าหมาย
  4.4 การส่งเสริมการตลาด (Promote) คือ การติดต่อสื่อสารเกี่ยวกับข้อมูลระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ